0136 | ผังการใช้งานความถี่โทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆ ในไทย

Friday, November 23rd, 2012 Posted in Misc | No Comments »

ข้อมูลเรียบเรียงจากเว็บไซต์ของทาง กสทช ที่ประกาศออกมาหลายปีแล้วนะครับ
http://www2.nbtc.go.th/phocadownload/telecomm_eng/telecom_engineer/Table_of_Frequency004.pdf

ย่าน 850 MHz

ความถี่ 824-849 , 869-894 MHz (2 x 25MHz)
=> CAT เป็นเจ้าของความถี่ แบ่งคลื่นเป็น 3 ส่วนคือ
=> 2x10MHz สำหรับประกอบกิจการเอง ให้บริการในชื่อ mybycat (เค้าบอกว่างั้น) และแบ่งขายความจุ 80% ให้ Truemove H
=> 2x10MHz สัมปทานให้ DTAC
=> 2x5MHz สัมปทานให้ Truemove

ย่าน 900 MHz

ความถี่ 897.5-915 , 942.5-960 (2 x 17.5MHz)
=> TOT เป็นเจ้าของความถี่ สัมปทานทั้งหมดให้ AIS ใช้งานระบบ 2G และ 3G อยู่

ย่าน 1800 MHz

ทั้งย่านเป็นสัมปทานภายใต้ CAT มี bandwidth รวม 2x75MHz แบ่งดังนี้
=> 1710.0-1722.6 , 1805.0-1817.6 MHz (2 x 12.6 MHz)
สัมปทานให้ Truemove หมดอายุปี 2556
=> 1722.6-1747.9 , 1817.6-1842.9 MHz (2 x 25.3 MHz)
สัมปทานให้ DTAC หมดอายุปี 2561
=> 1747.9-1760.5 , 1842.9-1855.5 MHz (2 x 12.6 MHz)
สัมปทานให้ DPC หรือ GSM1800 หมดอายุปี 2556
=> 1760.5-1785.0 , 1855.5-1880.0 MHz (2 x 24.5 MHz)
สัมปทานให้ DTAC หมดอายุปี 2561

ย่าน 1900 MHz

=> 1885.0-1900.0 (15 MHz) * paired with 1965.0-1980.0 MHz but conflict with 2100 MHz below
เป็นย่านของ Thai Mobile (TH ACT 1900) ที่ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว เนื่องจากคลื่น upper band ถูกนำไปใช้เป็น lower band ของย่าน 2100 ด้านล่าง

ย่าน 2100 MHz

=> 1965.0-1980.0 , 2155.0-2170.0 MHz (2 x 15 MHz)
ในความครอบครองของ TOT ให้บริการ TOT3G อยู่ในขณะนี้

สรุปรวมแต่ละค่ายมีความถี่ดังนี้

AIS ย่าน 900 MHz ขนาด 2×17.5MHz และย่าน 1800 MHz ขนาด 2×12.6MHz (รวม 2 x 30.1 MHz)
DTAC ย่าน 850 MHz ขนาด 2x10MHz และย่าน 1800 MHz ขนาด 2×49.8MHz (รวม 2 x 59.8 MHz)
Truemove ย่าน 850 MHz ขนาด 2x5MHz และย่าน 1800 ขนาด 2×12.6MHz (รวม 2 x 17.6 MHz)
CAT (และ Truemove H) ย่าน 850 MHz ขนาด 2×10 MHz (รวม 2 x 10 MHz)
TOT ย่าน 2100 MHz ขนาด 2x15MHz (รวม 2 x 15 MHz)

รวมความถี่ทั้งหมดที่ใช้ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือบ้านเรา มี bandwidth ทั้งสิ้น 2 x 132.5 MHz ครับ
และถ้า กสทช ออกใบอนุญาตคลื่น 2100 MHz เรียบร้อยแล้ว เราจะได้ bandwidth มาเพิ่มอีก 2 x 45 MHz รวมเป็น 2 x 177.5 MHz (เพิ่มขึ้นอีก 34%)

Tags: , , , ,

0131 | ทำไมต้องทำ 3G ก่อน ทำไมไม่ข้ามไป 4G เลย?

Sunday, October 7th, 2012 Posted in Misc | 3 Comments »

(ใครขี้เกียจอ่านอารัมภบท แนะนำให้เลื่อนลงไปล่างสุดเลยฮะ)

ใกล้กันเข้ามาแล้วกับการประมูลคลื่นย่าน 2100 สำหรับการให้บริการโทรศัพท์ไร้สายในระบบ IMT โดย กสทช.ครับ ครั้งนี้ถือเป็นการปฏิวัติและพลิกประวัติศาสตร์วงการโทรคมนาคมประเทศไทยเป็นครั้งแรกเลยทีเดียว เนื่องจากก่อนหน้านี้การให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกค่าย ต้องตกอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานแบบ BTO คือสร้าง โอนสิทธิ์ แล้วก็ให้บริการ โดย AIS อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานจาก TOT , DTAC True และ DPC (GSM1800) อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานจาก CAT

ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 มีการกำหนดมาให้มีองค์กรอิสระ สำหรับทำหน้าที่บริหารจัดการ “ความถี่” คลื่นวิทยุ เพื่อให้ใช้งานได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด จากเดิมที่คลื่นแต่ละคลื่นถูกหน่วยงานแบ่งกันไปจัดสรรกันเอง เช่น CAT ที่ครอบครองคลื่นย่าน 850 MHz , TOT ที่ครอบครองคลื่นย่าน 900 และ 2300 , MCOT ย่าน 2600 ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความสำคัญเชิงเศรษฐกิจค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นคลื่นที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU กำหนดให้เป็นคลื่นที่มีไว้สำหรับใช้บริการกิจการการโทรคมนาคมระบบต่างๆ หน่วยงาน กสทช จึงได้เกิดขึ้นมา(เมื่อปลายปีที่แล้ว) เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง หน่วยงานเดียวเลย ที่มีหน้าที่ในการจัดการ จัดสรรการใช้ความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ

เอาล่ะ เข้าเรื่องประมูลคลื่น 2100 MHz กันดีกว่า

คลื่น 2100 MHz เอาไปทำอะไรได้บ้าง

คลื่นย่าน 2100 MHz Band1 (2110 – 2170 MHz และความถี่คู่ย่าน 1900 MHz ที่ 1920 – 1980 MHz) ตามที่ ITU กำหนดมานั้นมีไว้ให้บริการสำหรับการโทรคมนาคมระบบ WCDMA รวมถึง LTE ด้วยครับ หมายความว่าถ้า Operator สนใจ ก็สามารถติดตั้งได้เลยเช่นกัน มีประเทศที่ใช้คลื่นย่าน 2100 MHz ติดตั้ง 4G คือญี่ปุ่นครับ และที่สำคัญ iPhone 5 รุ่นที่จำหน่ายนอกสหรัฐฯ ก็รองรับคลื่นย่านนี้ในระบบ LTE ด้วยเหมือนกัน

จากเงื่อนไขการประมูลที่ระบุไว้ในข้อกำหนดการประมูลของ กสทช. ระบุไว้ดังนี้ครับ

“ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ (Neutral Technology) ตามข้อเสนอแนะของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-R Recommendations) ที่เกี่ยวกับ IMT”

หมายความว่า ถ้า operator พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม ก็สามารถแบ่งคลื่น 2100 ที่ประมูลได้ ไปทำ LTE ด้วยก็ได้…

แล้วทำไมไม่ติดตั้ง 4G ไปเลย?

ใช่ว่าของใหม่ทุกอย่างจะดีกว่าของเก่านะครับ (ฮา) คือระบบ 4G LTE เนี่ย เนื่องจากมันเปลี่ยนระบบจาก 2G/3G ไปเกือบหมดเลย ทำให้มีปัญหาตัวใหญ่สุดคือ

“มันโทรออกผ่าน LTE ตรงๆ ได้ไม่สมบูรณ์”

มีใครอยากได้มือถือมาเล่นเน็ตอย่างเดียวไม่โทรออกบ้างมั้ยครับ (มีแหละ แต่คงไม่เยอะขนาดนั้นหรอก) หมายความว่าถ้า operator ติดตั้ง LTE อย่างเดียว การโทรออกทั้งหมดก็ต้อง roaming กลับไปยังเครือข่าย 2G (ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน และต้องโอนคลื่นความถี่พร้อมทรัพย์สินคืนไปให้ผู้ให้สัมปทาน) แล้วจะประมูลคลื่นไปทำไม? และพอ 2G หมดสัญญาสัมปทานแล้วอะไรจะเกิดขึ้นบ้างก็ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ (แต่เดี๋ยวพอทรูมูฟหมดสัญญาสัมปทานปีหน้าแล้วก็รู้กัน)

ที่สำคัญคือ นอกจากไอโฟนห้าแล้ว ทุกวันนี้มือถือที่รองรับ LTE ยังมีในตลาดไม่กี่สิบรุ่นเท่านั้น !! แถมราคาก็… ระดับเดียวกันกับไอโฟนนั่นแหละครับ คนที่ใช้ได้ก็คงเป็นคนในกรุงอย่างเดียว

สรุปแล้วคือ… ไม่มีประโยชน์ที่จะข้ามไปติดตั้ง LTE เพียวๆ โดยไม่ลงทุนติดตั้งระบบ 3G WCDMA ครับ แต่ถ้าติดตั้งปนกันไปเลยบางพื้นที่ก็เป็นไปได้ (เช่นในห้าง) ใช้ 3G 1 slot (2 x 5MHz) แล้วเอา LTE มาช่วยลดภาระการใช้งานช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ต (2 x 10MHz) แบบนี้ก็จะทำให้ใช้งานช่องสัญญาณได้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมเยอะครับ

Read the rest of this entry »

Tags: , , ,