Archive for February, 2013

0148 | Concept ระบบจองตั๋ว

Sunday, February 17th, 2013 Posted in Database, PHP Coding, Web Server | No Comments »

จากกรณีเดี่ยวสิบระบบจองล่มอนาถ… ในหัวเลยลองร่างๆ ระบบ ticketing system ไว้อยู่พอประมาณครับ เงื่อนไขที่ร่างไว้ก็ประมาณนี้

ไม่รู้ทำจริงจะเน่ามั้ยนะ (ฮา) ออกแบบในหัวมาคร่าวๆ ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเลยครับ ไม่รู้จะติดปัญหาอะไรยังไงบ้าง

  • เร็ว : แน่นอน ระบบต้องเร็วพอที่จะไม่ต้องเสียเวลารอในแต่ละขั้นตอนมาก
  • ชัวร์ : ล็อกที่นั่งระหว่างทำรายการได้ชัวร์จนกว่าจะ expire // ไม่อนุญาตให้เกิดการทำรายการจองที่นั่งซ้ำ
  • ปล่อยได้ : ที่นั่งที่ล็อกไว้รอทำรายการต้องมีกำหนด expire ถ้าทำรายการไม่เสร็จตามระยะเวลาก็ให้กลับคืนมาให้ระบบ
  • realtime : รายการผังที่นั่ง stream ดูกันสดๆ ได้เลยว่าที่นั่งไหนอยู่ในสถานะไหน (ajax streaming)

ส่วนประกอบของ service ก็จะได้ประมาณนี้

  • WebUI : ส่วนหน้าจอติดต่อ client อาจเป็น rest api หรือ full web เลยก็ได้
  • Payment Gateway Interface : ส่วนคุยกับระบบจ่ายเงิน (บัตรเครดิต, paypal, อื่นๆ)
  • Locking Services : เป็น In-memory service ที่ทำหน้าที่เก็บสถานะที่นั่งไว้ในแรม
  • Database : เอาไว้เก็บตัว transaction และ state จริงๆ ของที่นั่ง

ที่คิดไว้… ฝั่ง WebUI กับ Payment Gateway Interface นี่เขียนภาษาอะไรก็ได้ครับ ไม่ strict ส่วน locking service เป็น nodejs เนื่องจากต้อง listen http สำหรับ streaming ข้อมูลการ lock ที่นั่งส่งไปให้ client ด้วย … ส่วน database อยากใช้อะไรก็ใช้ไปฮะ

  • locking service สามารถรัน 1 zone ต่อ 1 หรือหลายรอบการแสดงได้ (แต่ไม่สามารถรันหลาย zone ต่อ 1 รอบการแสดงได้ เพราะจะทำให้มีโอกาสที่จะ lock ชนกัน) ทันทีที่รันให้โหลดข้อมูลผังที่นั่งและสถานะที่นั่งแต่ละที่จาก database มา map ไว้รอเลย
  • webui จะให้เลือกรอบการแสดง (ข้อมูลนี้ cache ได้ เพราะงั้นเข้าไม่ถึง database) แล้วจะไป fetch ข้อมูลผังที่นั่งจาก locking service พร้อมเปิด ajax streaming connection ทิ้งไว้เพื่อ update ผังที่นั่งสดๆ
  • พอ client คลิกยืนยันที่นั่งที่เลือก webui จะยิงคำสั่ง lock ไปให้ locking service
  • locking service จะ mark ที่นั่งนั้นเป็น pending payment ทันที พร้อมระบุเวลาที่ทำการ mark ด้วย โดยทำการ async save ลง database ด้วย พร้อม broadcast หา client ทุกตัวที่เชื่อมต่ออยู่ให้รู้ว่าที่นั่งนั้นๆ ไม่ว่างแล้ว
  • ถ้า locking service mark ที่นั่งไม่ผ่าน (update ชน หรือมี client ยิงคำสั่งที่นั่งมาชนกันพอดี) ให้แจ้งคนที่มาทีหลังว่าที่นั่งไม่ว่าง แล้วยิงให้ webui refresh ที่นั่งใหม่
  • webui เก็บข้อมูลอื่นๆ ของผู้ซื้อบัตร แล้ว redirect เข้า payment gateway ที่เจ้าตัวเลือก
    • ถ้าเป็น offline payment อย่าง counter service / atm / bill paymetn ก็ให้ยิงคำสั่งไปบอก locking service อีกรอบเพื่อแก้ไขสถานะเป็น offline payment required เพื่อไม่ให้ที่นั่งหลุด
    • ส่วน online payment ก็ทำรายการต่อไปจนจ่ายเงินสำเร็จ ยืนยันยอดเสร็จ webui ก็ update transaction ลง database ไปเลย แล้วยิงคำสั่งบอก locking service ว่าที่นั่งจองเรียบร้อยแล้ว ขึ้นสถานะเป็น complete ได้ หรือถ้า transaction fail ก็ยิงไปบอกให้ unlock ที่นั่ง
  • locking service ต้องทำ timer รอไว้ (setTimeout) สำหรับที่นั่งที่เพิ่ง mark pending payment ว่าภายใน X นาทีถ้ายังไม่เปลี่ยนสถานะให้ unlock ที่นั่ง <– อันนี้ต้องการความสามารถของ node.js เต็มๆ

สรุปแล้ว ทั้งระบบจะมี query database ประมาณนี้

  • ตอน start locking service ครั้งแรก query หาผังที่นั่ง + สถานะที่นั่ง
  • ตอนคนเลือกรอบการแสดงครั้งแรกๆ ที่ยังไม่ติด cache
  • locking service update สถานะที่นั่งเข้าฐานข้อมูล (free, pending payment, offline payment, completed)
  • webui update ข้อมูลลูกค้า
  • webui update ข้อมูล transaction

ต่อ 1 การจองก็จะมี query สามอันหลัง ประมาณ 7-8 query โดยไม่จำเป็นต้องทำ lock ที่ฝั่ง database ให้ระบบค้างเลย

จุดอ่อนใหญ่สุดของระบบนี้อยู่ที่ตัว locking service ที่ถ้ามันล่มก็จะจองตั๋วในรอบนั้นไม่ได้เลย รองลงมาก็การที่ยังต้อง query เข้า database เกือบสิบครั้งต่อ 1 การทำรายการจองซึ่งอาจเกิดคอขวดที่ database ได้ อาจแก้ได้ด้วยการแยก database ข้อมูลลูกค้ากับข้อมูลการจองออกจากกัน (สิ้นคิดมาก 555)

0147 | PHP Fatal error: Out of memory

Tuesday, February 5th, 2013 Posted in Linux, PHP Coding, Web Server | No Comments »

Fatal error: Out of memory (allocated 4194304) (tried to allocate 14156 bytes) in /var/www/html/script.php on line 123

เชื่อว่าคนทำเว็บที่ใช้ PHP หลายๆ คนคงเคยเจอปัญหานี้มาไม่มากก็น้อยกันอยู่ หลายๆ คนเห็น error อันนี้แล้วก็ไปเข้าใจผิดว่า server แรมหมดอะไรงี้ด้วย เดี๋ยวจะมาอธิบายให้ครับ

  • Error นี้ไม่ได้เกี่ยวห่าอะไรเลยกับ RAM ของ server หมดครับ การ reboot เครื่องหรือ upgrade spec ของ VPS ของท่านไม่ได้ช่วยให้อาการนี้หายแต่อย่างใด
  • มันคือ Error ที่มาจากระบบจัดการการใช้ Memory ของ PHP เอง (ตั้งใน php.ini ชื่อ option ว่า memory_limit)
  • มันกำลังบอกว่า เจ้าของ server ตั้งจำกัดการใช้งาน Memory ของ PHP ไว้ (allocated ***) bytes
  • และมันบอกว่า script ใช้จนเต็ม limit ไปแล้ว แต่จะขอใช้เพิ่มอีก (tried to allocate *** bytes)
  • พอใช้เกิน limit ของที่ตั้งไว้ใน php.ini PHP ก็เลยสั่งตัดการทำงาน พร้อมกับพ่น error นั่นออกมา

ความจริง option นี้มีประโยชน์มากสำหรับ shared hosting เพื่อป้องกันไม่ให้มี script ใดๆ สามารถใช้งานแรมจนหมดได้… (อาจจะเกิดจากเขียน code ผิด หรืออะไรก็แล้วแต่) แต่การตั้งค่านี้ต่ำไปก็มีผลกระทบกับ CMS ที่เขียนมาไม่ดี และมีการใช้ทรัพยากรหนักๆ ครับ (WordPress / Joomla เป็นต้น)

ค่า memory_limit ของ PHP เนี่ย เท่าที่ใช้งานมาไม่ควรตั้งต่ำกว่า 8M (8388608) ครับ และสำหรับการใช้งาน CMS อย่าง wordpress หรือ joomla ที่ call stack ไม่รู้จะยาวไปหาอะไร แนะนำให้ตั้งที่ไม่ต่ำกว่า 64M (67108864) ครับ

Tags: ,